บทความ

เนื้อหาของแท่นขุดเจาะน้ำมัน

สอนการสร้างโมเดลแท่นขุดเจาะน้ำมัน

รูปภาพ
วิดีโอการสร้างและการประกอบชิ้นส่วนแท่นขุดเจาะน้ำมันผ่านโปรแกรม Solidwork Simulation 1 Simulation 2 Simulation 3 \ วิดีโอทดสอบโมเดลแท่นขุดเจาะแบบคาน

ประเภทของน้ำมันที่ใช้ในเครื่องยนต์

รูปภาพ
ประเภทของน้ำมันที่ใช้ในเครื่องยนต์ ปัจจุบันน้ำมันในไทยมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้รถและความต้องการของผู้ใช้ น้ำมันเบนซิน หรือแก๊สโซลีน ผลิตมาจากน้ำมันดิบ (crude oil) ที่ถูกดูดขึ้นมาจากพื้นโลก มีลักษณะเป็นของเหลวสีดำ เรียกว่า ปิโตรเลียม (Petroleum) น้ำมันเบนซิน เป็นเพียงส่วนผสมปริมาณเล็กน้อยที่อยู่ในน้ำมัน โดยจะมีผลกับค่าออกเทน ซึ่งค่าออกเทนจะเป็นตัวบอกคุณภาพของน้ำ มันเบนซิน ถ้าตัวเลขสูงหมายถึงความสามารถของน้ำมันต่อการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ที่สูงขึ้น สำหรับน้ำมันเบนซินที่ขายอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล สามารถจำแนกน้ำมันที่ขายตามท้องตลาดได้ ประมาณ 7 ประเภท ประกอบด้วย 1.น้ำมันเบนซินธรรมดา (regular) หรือน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 91 ประกอบด้วยส่วนผสมจากน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว และค่าออกเทน 91 2.น้ำมันเบนซินพิเศษ (premium) หรือน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 95 ประกอบด้วยส่วนผสมจากน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว และค่าออกเทน 95 ปัจจุบันน้ำมันประเภทนี้ยกเลิกการจำหน่ายไปแล้วหลายแห่ง 3.น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 มีคุณส

ขนิดและประเภทของเชื้อเพลิงที่ได้จากกระบวนการปิโตรเลียม

รูปภาพ
ขนิดและประเภทของเชื้อเพลิงที่ได้จากกระบวนการ ปิโตรเลียม เชื้อเพลิงคืออะไร ?                                 เชื้อเพลิง คือวัสดุใดๆ ที่นำไปเผาไหม้หรือแปรเปลี่ยนเพื่อนำมาซึ่งพลังงาน เชื้อเพลิงจะปลดปล่อยพลังงานผ่านปฏิกิริยาทางเคมีเช่นการเผาไหม้ หรือปฏิกิริยานิวเคลียร์เช่นการแตกตัวหรือการรวมตัวของนิวเคลียส อย่างใดอย่างหนึ่ง คุณสมบัติสำคัญของเชื้อเพลิงที่มีประโยชน์คือพลังงานที่มีอยู่สามารถถูกบรรจุและปลดปล่อยได้ตามต้องการ และการปลดปล่อยนั้นถูกควบคุมในทางใดทางหนึ่งเพื่อให้สามารถใช้สร้างงานทางวิศวกรรมได้                              สิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน (carbon-based life) ทุกชนิด คือตั้งแต่จุลชีพไปจนถึงสัตว์รวมทั้งมนุษย์ ใช้เชื้อเพลิงเป็นแหล่งพลังงาน เซลล์ต่างๆ จะต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า เมแทบอลิซึม (metabolism) ซึ่งดึงเอาพลังงานออกมาจากอาหารหรือแสงอาทิตย์ในรูปแบบที่สามารถใช้ในการดำรงชีวิต  นอกจากนั้นมนุษย์ใช้เทคนิคที่หลากหลายเพื่อแปรเปลี่ยนพลังงานรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการสร้างพลังงานก็เพื่อจุดประสงค์ที่มากไปกว่าพลังงานในร่างกายม

กำเนิดปิโตรเลียมสำหรับแท่นขุดเจาะน้ำมัน

รูปภาพ
   กำเนิดปิโตรเลียม ปิโตรเลียม (Petroleum) คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติจากซากพืชและซากสัตว์ที่ทับถมกันหลายแสนหลายล้านปี มักพบอยู่ในชั้นหินตะกอน (Sedimentray Rocks) ทั้งในสภาพของแข็ง ของเหลว และก๊าซ มีคุณสมบัติไวไฟเมื่อนำมากลั่น หรือผ่านกระบวนการแยกก๊าซ จะได้ผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ เช่น ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา ยางมะตอย และยังสามารถใข้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเคมีภัณฑ์ต่างๆ เช่น ปุ๋ยเคมี พลาสติก และยางสังเคราะห์เป็นต้น ปิโตรเลียม..เกิดขึ้นได้อย่างไร?       ปิโตรเลียม เกิดจากการทับถมและแปรสภาพของซากสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์นับหลายล้านปี ที่ตกตะกอนหรือถูกกระแสน้ำพัดพามาจมลง ณ บริเวณที่เป็นทะเลหรือทะเลสาบในขณะนั้น ถูกทับถมด้วยชั้นกรวด ทราย และโคลนสลับกันเป็นชั้นๆ เกิดน้ำหนักกดทับกลายเป็นชั้นหินต่างๆ ผนวกกับความร้อนใต้พิภพและการสลายตัวของอินทรีย์สารตามธรรมชาติ ทำให้ซากพืชและซากสัตว์กลายเป็นน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ หรือที่เราเรียกว่า “ปิโตรเลียม” ดังนั้นเราจึงเรียกปิโตรเลียมได้อีกชื่อหนึ่งว่า “เชื้อเพลิง

10 อันดับประเทศที่ผลิตน้ำมันโดยใช้แท่นขุดเจาะน้ำมันมากที่สุด

รูปภาพ
10 อันดับประเทศที่มีปริมาณน้ำมันดิบสูงที่สุดของโลก  น้ำมัน เคยสงสัยไหมว่าประเทศที่มีน้ำมันมากที่สุด 10 อันดับของโลกมีประเทศอะไรบ้าง                    มีคำกล่าวที่ว่า ถ้าประเทศไหนมีน้ำมันประเทศนั้นจะร่ำรวย ซึ่งเมื่อดูจากตัวเลขทางเศรษฐกิจ จีดีพี และการส่งออกของประเทศผู้ค้าน้ำมันแล้ว จะเห็นได้ชัดเลยว่าคำกล่าวนั้นเป็นจริง เพราะน้ำมันถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจึงทำให้มูลค่าของมันค่อนข้างสูง อีกประการคือน้ำมันเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนแทบจะทุกอย่างบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นยานพาหนะ การผลิตไฟฟ้า การผลิตสินค้าต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้น้ำมันทั้งสิ้น  1. เวเนซุเอลา         ปริมาณน้ำมันดิบสำรอง 297,700 ล้านบาร์เรล         เวเนซุเอลายังคงต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมันเป็นหลัก โดยคิดเป็นมูลค่ากว่า 96% ของรายได้จากการส่งออก, คิดเป็น 40% ของรายได้รัฐ และคิดเป็น 11% ของจีดีพี ผลพวงจากสงครามราคาน้ำมันเมื่อปี 2014 บวกกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยฉุดให้เศรษฐกิจของประเทศเวเนซุเอลาย่ำแย่ลงอย่างมาก โดย ณ ตอนนี้ประเทศเวเนซุเอลาหวังพึ่งพาบรรดาพันธมิตรประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกก